Featured

    Featured Posts

    Social Icons

Loading...

วัดดัง! พิธีกรรมวังเว่อร์ เน้นใหญ่ ไม่ธรรมชาติ




ศาสนาพุทธ เน้นทางสายกลาง 
เน้นอะไรที่เป็นธรรมชาติ ลดการปรุงแต่ง
แนวคิดอะไรที่เน้นความใหญ่ ความเยอะ
ความสวย ความเป็นระเบียบ
เกินกว่าธรรมชาติ มีการจัดตั้งปรุงแต่ง
จะเป็นพุทธศาสนาได้ยังไง ?


ผมหมายถึงแนวคิด หรือจิตวิญญานของวัด
ที่เน้นความใหญ่ ความสวยงาม
ความมีระเบียบ!
 
คนทั่วไปมองรูปภาพที่ถ่ายจากงานขิงวัดแว่บเดียว!
ก็รู้แล้วว่าวัดนี้ผิดปรกติ  เหมือนในฉากหนังฉากละคร
มีแต่คนที่อยู่กับวัดจนเคยชินจนมองเป็นเรื่องธรรมดา
แต่คนนอกมองแว่บเดียว ก็รู้ว่าผิดธรรมชาติ



 

เอาเป็นว่าคุณไม่ได้ติดใจ
เรื่องสิ่งก่อสร้างของวัดนะครับ
แต่สงสัยเรื่องแนวคิดในการจัดงาน
ออกตัวก่อนว่า
ถือว่าคุยแลกเปลี่ยนกันนะครับ..

ผมขอเรียกส่วนที่คุณสงสัยว่า
เป็นเรื่อง "พิธีกรรม" เลยนะครับ (หวังว่าจะตรง)
คุยกับคนแก่วัยดึกก็ทำใจนิดครับ
บางทีต้องลงรายละเอียดลึกๆ เหมือนกัน
ตอบสั้นๆ จะไม่ค่อยได้อะไร



พิธีกรรมที่เราคุ้นมากๆ ก็มักจะมีพวก
ธูป เทียน โต๊ะหมู่บูชา สายสิญจน์    
บทสวดของพระ อะไรทำนองนี้นะครับ
ซึ่งรวมๆ ที่ทำไปเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์
เกิดผลทางใจกับผู้มาร่วมงาน
ทำให้ใจสงบอยู่กับพิธีกรรมได้ตลอดต้นจนจบ
นี่เป็นเป้าหมายในการจัดพิธีกรรมทางศาสนาทั่วๆไป
ซึ่งคุณรู้สึกว่าวัดพระธรรมกายทำไม่เหมือนใครเขา
เลยรู้สึกว่ามันผิดปกติจะรู้ว่าผิดปกติหรือถูกปกติ
ก็ต้องไปดูก่อนครับว่า "ปกติ" จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร


ถ้าย้อนไปดูในสมัยพุทธกาล
จะพบว่าไม่มีเรื่องพวกนี้เลย
ธูป ไม่มีแน่ (มีแต่ของหอม ซึ่งไม่มีควัน)
เทียน ก็พัฒนามาจากประทีป ธูป 3 ดอก
เทียนคู่ 2 เล่ม นี่ก็คิดกันเองภายหลัง
โต๊ะหมู่บูชาไม่มีนะครับ
พระประธานไม่มี
สายสิญจน์ ไม่มีอีก
ที่จริงฮาร์ดแวร์ แบบโบสถ์ประเทศไทย
ช่อฟ้า ใบระกา ก็ไม่มีนะครับ
งานสำคัญๆ เช่น มาฆบูชา วิสาขบูชา
อาสาฬหบูชา พุทธกาลก็ไม่มีเช่นกัน




สรุปว่าทุกอย่างมามีภายหลังทั้งนั้น
และแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกันซะอีกด้วย
พุทธพม่ากับพุทธไทย พุทธลาว พุทธเขมร
พิธีกรรมอาจละม้ายคล้ายกันบ้าง
แต่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว ก็ขึ้นอยู่กับว่า
แต่ละที่มีอะไรให้ใช้ หรือวัฒนธรรมประจำถิ่น
เป็นอย่างไรด้วย


ขนาดพระในกรุงเทพให้ศีลให้พร
ยังไม่เหมือนพระทางเหนือ อีสานให้เลยครับ
บังเอิญว่าประเทศพุทธเถรวาทแถวนี้
สมัยก่อนก็ไม่มีขอบเขตประเทศ รบกันไปรบกันมา
ต้อนผู้คนไปมาปัจจุบันจึงมีอะไรคล้ายๆ กัน
เพราะคนมันปนเปกันมาตั้งแต่อดีต
สิ่งที่คุณ-ผม คุ้นในปัจจุบัน
คือสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งนั้นครับ



 
 
อย่างโต๊ะหมู่บูชา ทราบใช่ไหมครับว่า
เราได้แบบมาจากจีน ไม่ใช่ของไทยเป็นต้นนะครับ
สรุป---สิ่งที่คุณว่าแปลก เพราะคุ้น
กับแบบที่เคยเห็นมาตั้งแต่เด็ก
ผมก็คุ้นแบบนั้นครับ แต่ก็พอเข้าใจว่า
พิธีกรรมมันมีไว้เพื่ออะไรด้วย
การมี “พิธีกรรม” ถามว่าจำเป็นไหม ?


จำเป็นครับ!  ที่บรรพบุรุษท่านกำหนดมา      
ก็เพื่อให้เกิดแบบแผนที่ดีงาม


และต้องทำให้เกิดบรรยากาศที่ศักดิ์สิทธิ์
เพื่อที่จิตใจจะได้สงบ น้อมระลึกไปถึงพระรัตนตรัยได้ง่าย
ถ้าทำตามนี้ได้ พิธีกรรมนั้นก็ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์


ตามที่คุณว่ามา “แนวคิดหรือจิตวิญญาณ
ของวัดที่เน้นความใหญ่ ความสวยงาม
ความมีระเบียบ คนทั่วไป
มองรูปภาพที่ถ่ายจากงานของวัด
แวบเดียวก็รู้แล้วว่าวัดนี้ผิดปรกติ
เหมือนในฉากหนังฉากละคร”


ผมว่าวัดเขาก็ใช้แนวคิดของพิธีกรรม
ตามที่เล่าให้ฟังมา และเอื้อต่อลักษณะ
ที่บรรพบุรุษคิดมาด้วย
เพียงแต่อาจต่างทางรูปลักษณ์ไปบ้างเท่านั้นเอง
เน้นใหญ่ – คือผมมาวัดตั้งแต่มันไม่ใหญ่นะครับ
จึงเห็นพัฒนาการเรื่องพิธีกรรมของวัดมาตลอด
แล้วพบว่าวัด ไม่ได้เน้นความใหญ่ครับ






ใหญ่มากเปลืองเงิน วัดเขาก็เสียดายนะครับ
ถ้าคุณมายืนอยู่ในศูนย์กลางพิธีของวัด
คุณจะพบว่า มันไม่ได้ใหญ่เพราะอยากให้ใหญ่
แต่เพราะคนมาก สเกลการจัดงานจึงใหญ่ตามมา
งานไหนคนน้อยวัดก็จัดเล็กครับ 
การจะทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน
มันบังคับให้ต้องคิดเยอะทีเดียวว่าทำอย่างไร
จึงจะคุมบรรยากาศอยู่ (อธิบายยากมากครับ
และจะยาวมากด้วย  555 ต้องมายืนตรงนั้นครับ)
เช่น มาฆบูชา จะมีประทีปขนาดใหญ่
ใหญ่มากครับอยู่หน้าสุด สำหรับประธานดูใหญ่เว่อร์มาก
แต่เชื่อไหมครับมันดูเล็กกระจิ๋วเดียว
สำหรับคนที่นั่งอยู่ท้ายๆ




ถ้าเป็นโคมเล็กๆ คนอื่นมองไม่เห็นครับว่าเขาทำอะไร 
บางทีประธานมีครอบครัวหมู่ญาติหลายคน
เอาโคมเล็กๆ มาให้จุด ก็เหมือนรุมกัน
เหมือนไม่ให้เกียรติมันจึงถูกบังคับให้ใหญ่ครับ

และการดึงใจคนให้มารวมอยู่ที่เดียวกันสำคัญ
ดังนั้นมันต้องใหญ่ แต่วัดก็สร้างแล้ว
เก็บไว้ใช้ได้หลายสิบปี ทำทีเดียวคุ้มครับ

ส่วนที่ว่า..

 “เน้นความสวยงาม ความเป็นระเบียบ”
ผมถือว่าเป็นคำชมวัดนะครับ ..


ภาพความเป็นระเบียบผมว่าวัดทำดีแล้ว
ถ้าพิธีกรรมทำออกมาแล้วไม่สวย
น่าเกลียด และวุ่นวาย ไม่มีระเบียบเลย
อันนี้สิไม่เข้าท่า!


อย่างที่บอกครับ ที่ให้สวย และเป็นระเบียบ
เพราะต้องการสื่อสารให้สาธุชน
ให้ความเคารพในพระรัตนตรัยครับ
ทำให้พระพุทธเจ้า หลวงพ่อผมบอก
"ต้องดีที่สุดครับ อย่าทำลวกๆ"



"เหมือนฉากหนังละคร" ตรงนี้ผมไม่เห็นนะครับ
ถ้าใช่พวกหนัง ละครคงเอาแบบจากวัด
ไปใช้มากกว่า..


ผมไม่รู้จะอธิบายความรู้สึกของผู้คน
ที่มองอะไรไม่เหมือนกันอย่างไร
ถือว่าเป็นความเห็นเฉพาะบุคคลก็แล้วกันนะครับ





เรื่อง “พระแต่งเหมือนตัวงิ้วตัวละคร”
ตรงนี้นึกไม่ออกครับว่าหมายถึงอะไร
ขอดูภาพหน่อยได้ไหมครับ


แต่ระวัง!!! อย่าเอาภาพตัดต่อ
ที่มีคนทำมาใส่ร้ายพระมาลงนะครับ
ตรวจสอบก่อนด้วย

ขอบคุณครับ


Cr.Neocitran

ติดตามกระทู้ของ Neocitran–Pantip
Link :
http://pantip.com/profile/2932812
author

This post was written by: Author Name

Your description comes here!

Get Free Email Updates to your Inbox!

แสดงความคิดเห็น

CodeNirvana
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

โพสต์แนะนำ

กรณีธรรมกาย พลังมวลแห่งศรัทธา คุณค่าของความเชื่อ

. . เมื่อคน หรือพระทะเลาะกัน จะเป็นผู้แพ้ หรือผู้ชนะ ย่อมมีความอ่อนแอ ซุกซ่อนอยู่เสมอ แล้วแพ้หรือชนะจะมีค่าอะไร . .  . . กรณีธรรมกา...

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

รายการบล็อกของฉัน

Blogger templates

Video Of Day

About us

About

Posts

บทความที่ได้รับความนิยม

© Copyright วัดพระธรรมกาย UNSEEN !
Back To Top