Featured

    Featured Posts

    Social Icons

Loading...

เชื่อพระพุทธเจ้า ต้องเชื่อหมดใจ!




ที่ผ่านมา ผมรู้สึกตัวเองลีลาเยอะ 555
กระทู้นี้ (บทความจากเวปพันทิป) จึงไม่พิรี้พิไรให้เยิ่นเย้อละนะครับ
จากที่เหมือนใส่สูทผูกไทเขียน ก็เป็นผ้าขาวม้าเคียนพุงกันเลย
ก่อนอื่นอยากพูดถึงคนเข้าวัดพระธรรมกาย
จะว่านินทากันเองก็ได้ครับ 555
ไม่ใช่อะไร เห็นเพื่อนสมาชิกหลายท่านให้ความสำคัญ
กับคนวัดพระธรรมกายมากมายเหลือเกิน
เรียกว่าโผล่ตรงไหน ก็มีคำถามรอให้อธิบายเต็มไปหมด
ยังกับคนวัดเป็นอับดุล...
ถามอะไรรู้... “รู้”
ถามอะไรตอบได้ ... “ได้”  555
โดยส่วนตัวปลื้มใจแทนชาววัดนะครับ ที่ได้รับเกียรตินี้
ไปเข้ากระทู้ไหน ก็เป็นเหมือนทนาย หรือตัวแทนของวัดไปด้วยเลย
เครดิตดีครับ

บางท่านยิ่งน่าภูมิใจ ถูกยกระดับให้กลายเป็นบุคคลอ้างอิงของวัดในบางกระทู้ด้วย เช่น
“เพื่อนผมเป็นคนวัดเล่าว่า”... หรือ
“แฟนผมเป็นสาวกธรรมกาย เล่าว่า”...
หนังสือพิมพ์ยังเคยเลยครับ จับโจรได้ สืบประวัติพบว่าเคยมาวัดพระธรรมกาย
555 นี่ไม่ได้ล้อกันเล่นใช่ไหมครับ !!!
คนมาวัดรวม ๆ กัน ผมว่าเป็นล้านคนแล้วนะครับ
คนไปวัด ก็คือคนธรรมดาแบบเรา ๆ นี่แหละครับ
มีทั้งหญิง ชาย เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ไปจนแก่เฒ่า
ทุกสาขาอาชีพครับ ตารวจ ทหาร อัยการ ผู้พิพากษา ข้าราชการ
นักการเมือง แพทย์ วิศวกร พนักงาน ลูกจ้าง
นักธุรกิจใหญ่ พ่อค้าแม่ขาย ไปจนถึงคนระดับล่าง แจกแจงไม่หวาดไม่ไหวครับ
ฐานะตั้งแต่รวยล้นฟ้า ไปจนถึงคนธรรมดาพอมีพอกิน
ความสุขแบบโลก ๆ ก็สัมผัสกันมาพอสมควรแล้ว
ที่มาวัดเพราะอยากได้ความสุขสงบทางใจ ที่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้า
เรามาเอาประโยชน์จากตรงนั้นครับ





และเอาแบบจริงจัง ชนิดที่คนไม่เคยทำยากจะเข้าใจ
คนวัดไม่ได้เก่งตำรับตารา หรือแตกฉานพระไตรปิฎกหรอกครับ
อย่างผม เห็นใครเอาอะไรมาแปะยาว ๆ ศัพท์แสงยาก ๆ ลิงก์มากมาย
ผมเลื่อนเม้าส์ผ่านไปหน้าตาเฉยเลยนะครับ 555
ไม่ได้อ่าน หน้าด้านจริง ๆ
รู้ทั้งรู้ว่าเขาปรารถนาดี แต่จนใจที่มีความรู้น้อย
ถ้าเปลี่ยนจากกางตำรา มาเป็นชวนนั่งสมาธิ อย่างนี้พอสู้ครับ 55
ที่ชอบวัด เพราะที่นี่ทำให้ความสงบสุขทางใจ เป็นสิ่งที่สัมผัสได้จริง
ที่วัดจะสอนให้นำคำสอนพระพุทธเจ้ามาทำอย่างจริงจัง เชื่อมั่นกันสุดหัวใจ
และวัดนี้เก่งครับ ในการทำเรื่องยากให้ง่าย และกลายเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

ยกตัวอย่างสักเรื่องก็แล้วกันนะครับ




เช่น ทำทาน
ที่อื่นมักจะสอนให้ทำตามศรัทธา ทำบุญมากน้อยไม่สาคัญ
ขึ้นอยู่ที่ใจ
คุ้นกันใช่ไหมครับ

ผมคิดว่าถ้าทำตามนั้น เราจะไม่ค่อยได้ทำบุญกันหรอก
อย่างผมทำงานเหนื่อย จะขี้เกียจตื่นใส่บาตรหรือไปวัด
ถ้าเอาตามศรัทธา ผมศรัทธาการนอนมากกว่าครับ
ศรัทธาเกิดยาก นาน ๆ จะโผล่มาสักที (หลายท่านก็คงเป็น)
ดังนั้นทาบุญแต่ละที ใจจะน้อมไปทางทาน้อยเป็นส่วนใหญ่
เพื่อนผมหลายคนก็บอกศรัทธา แต่พอถามว่าได้ไปวัด
ทำบุญ หรือปฏิบัติธรรมบ้างไหม
ส่วนใหญ่ตอบชัดถ้อยชัดคาว่า “ไม่” แล้วรีบเฉไฉไปเรื่องอื่น
ดูตอนใส่ซองกฐิน-ผ้าป่าก็ได้ครับ เราใส่กันมากน้อยแค่ไหนก็รู้แก่ใจดี

วัดพระธรรมกายก็สอนแบบเดียวกัน
เพียงแต่ไม่ให้ศรัทธาไปตามยถากรรมเท่านั้นเองครับ

เมื่อมีศรัทธา จะต้องรักษาให้เติบโต และมั่นคง
วิธีการคือลงมือทำ จนเกิดความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าครับ
เคยอ่านพระไตรปิฎก บางยุคบางสมัย
เขาเลี้ยงพระกันเป็นหมื่นเป็นแสนองค์ใช่ไหมครับ
ทีแรกผมไม่เคยคิดนะว่ามันจะเป็นจริงได้
แต่หลวงพ่อบอกว่า "ได้" พระพุทธเจ้าตรัสไว้คือ "เรื่องจริง"




โครงการบวชพระแสนรูป ถวายสังฆทานหลายหมื่นวัด
หรือตักบาตรพระครั้งละหลายหมื่นรูปคือตัวอย่าง
คงเคยได้ยินกันมาบ้างนะครับ
ตอนได้ยินโครงการ ผมยังอุทานว่า “เฮ้ย คิดได้ไง !!”
“คิดได้” ว่ายากแล้ว ทำให้สำเร็จยิ่งยากเข้าไปใหญ่
เพราะนอกจากต้องใช้หัวใจและความกล้าหาญ ยังต้องมีทีมงาน
และการจัดการที่มีประสิทธิภาพด้วย จึงจะสำเร็จ


โดยส่วนตัวผมอยากให้มีบุญใหญ่ ๆ ให้คนไทยได้ทำมากกว่านี้
แต่น่าเสียดาย ที่โครงการใหญ่ ๆ ไม่ค่อยเกิดให้ชาวพุทธชื่นใจหรอกครับ
จะว่าไม่คุ้นหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ แต่เคยได้ยิน ประโยคดับฝันว่า
ถ้าจะสร้างหรือจัดงานใหญ่ ๆ ควรให้เกิดจากการรวมใจ
หรือความพร้อมใจของชาวพุทธกันเอง
แปลไทยเป็นไทยได้ว่า พระหรือวัดไม่ต้องไปยุ่ง

ถ้าโยมศรัทธาเขาจะรวมกันมาทำเอง (ตามศรัทธาอีกแล้ว 555)
พอถามว่า แล้วเมื่อไหร่จะรวมใจ ? เมื่อไหร่จะพร้อม ?
คาตอบคือ “ไม่รู้”



 
 
บางทีผมรู้สึกว่า พระพุทธศาสนาถูกปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมเกินไป
เราจึงหาใครมาเป็นตัวตั้งตัวตี ทำอะไรให้ศาสนายากเย็นเหลือเกิน
คนไทยจะเก่งเรื่องให้ความเห็น หรือคำแนะนำ
แต่ถ้าให้ออกมา “นำ” ก็ไม่อยากทำซะอีก
การรวมตัวของพุทธบริษัทเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ยิ่งใหญ่ จึงเกิดได้ยากจริง ๆ

มีลุงญี่ปุ่นที่ใช้ชีวิตยาวนานในเมืองไทยบอกว่า
สังคมญี่ปุ่นโยงใยเหมือน “ตาข่ายแมงมุม”
แต่ละคนทำอะไร จะมีผลกระทบไปถึงคนอื่น
เขาจึงแคร์ชุมชน สังคม ให้ความสาคัญกับส่วนรวม
คนญี่ปุ่นจึงทำงานเป็นทีมเก่ง และไม่ค่อยมีใครเด่นกว่าใคร

ส่วนสังคมไทยเหมือน “เม็ดทราย” กำมือไว้ก็เหมือนจะสามัคคีกลมเกลียวกัน
แต่ที่จริงอยู่กันหลวม ๆ
คลายมือเมื่อไหร่ ก็แยกกระจัดกระจายตัวใครตัวมัน
คนไทยให้ความสาคัญกับตัวเองมากกว่าส่วนรวม
อาจเพราะอย่างนั้น จึงทางานเป็นทีมร่วมกันไม่ค่อยได้
แต่ความเห็นของผู้เฒ่า อาจเอามาเป็นจริงเป็นจังไม่ได้นะครับ 55

ผมจึงหวังไว้ ว่าจะมีสักคน สักวัด ที่ไม่ใช่วัดพระธรรมกาย
มาช่วยกันทำโครงการใหญ่ ๆ ให้พระศาสนากันเยอะ ๆ กว่านี้





การได้ตักบาตรพระหลายหมื่นรูป
ทำให้จินตนาการถึงยุคพุทธกาลได้ง่ายขึ้น
เริ่มเข้าใจว่าพระพุทธศาสนาเคยยิ่งใหญ่ขนาดไหน
คนสมัยนั้นรู้สึกอย่างไรบ้าง?


ยิ่งได้ทำบุญยิ่งติดใจครับ ศรัทธาก็เพิ่มพูนขึ้นไปทุกวัน
เพราะเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นชัดเจน
แค่ได้เห็นพลังของชาวพุทธ ก็ขนลุกทั้งตัวแล้วครับ
พระก็เกิดกำลังใจ โยมก็ทำบุญไปอย่างมีความสุข พุทธศาสนาก็แข็งแรง
ผู้ชายใจแข็ง ๆ ยังน้ำตาซึม
ใครได้ทำบุญอย่างนี้ แล้วไม่มีความรู้สึกอะไร
ผมว่าใจมีปัญหาแล้วครับ 555

เมื่อศรัทธา ก็เชื่อมั่น
อย่างเรื่องนรก-สวรรค์ แม้ยังไม่เห็นกับตา แต่ก็เชื่อว่าจริง
ผมคิดว่าถ้าเชื่อพระพุทธเจ้ากันสุดใจ

เรื่องในพระไตรปิฎกก็จะไม่ใช่แค่ตำนาน
แต่จะเป็นเข็มทิศนำทาง ให้เรานำสิ่งที่เกิดในพุทธกาล
ให้มาปรากฏในยุคของเรา

-------------------------------------------------
ขอให้สนุกสนานกับการทาความดีครับ

Cr.Neocitran

ติดตามกระทู้ของ Neocitran–Pantip
Link : http://pantip.com/profile/2932812
author

This post was written by: Author Name

Your description comes here!

Get Free Email Updates to your Inbox!

1 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

CodeNirvana
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

โพสต์แนะนำ

กรณีธรรมกาย พลังมวลแห่งศรัทธา คุณค่าของความเชื่อ

. . เมื่อคน หรือพระทะเลาะกัน จะเป็นผู้แพ้ หรือผู้ชนะ ย่อมมีความอ่อนแอ ซุกซ่อนอยู่เสมอ แล้วแพ้หรือชนะจะมีค่าอะไร . .  . . กรณีธรรมกา...

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

รายการบล็อกของฉัน

Blogger templates

Video Of Day

About us

About

Posts

บทความที่ได้รับความนิยม

© Copyright วัดพระธรรมกาย UNSEEN !
Back To Top