Featured

    Featured Posts

    Social Icons

Loading...

ดุสิตบุรี บัญญัติสวรรค์ชั้นใหม่ ของวัดธรรมกาย..จริงหรือ?

“ ดุสิตบุรี ”

มีในพระไตรปิฎกหรือไม่ ?



หรือพวกวัดพระธรรมกาย


บัญญัติขึ้นมาล่อชวนคนทำบุญ


เพื่อให้อยากขึ้นสวรรค์ ?


คำว่า “ดุสิตบุรี” ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ที่พวกคนไม่ชอบวัดพระธรรมกายในโลกโซเชียล
นำไปตีประเด็นล้อเลียน แถมเหน็บแนมว่า

คำนี้..ไม่มีในพระไตรปิฎก?


ซ้ำยังค่อนขอดว่า..

“ดุสิตบุรี
เป็นชื่อหมู่บ้านจัดสรร
ของชาวธรรมกาย”

หากอ่านมาถึงบรรทัดนี้
ก็อยากให้ลองเปิดใจกว้างๆ ดูว่า
เราเป็นคนหนึ่งคล้อยตามกับสิ่งที่
ฟังเขาเม้าท์  หรือเม้นท์มาแบบมั่วๆ รึเปล่า ?
และที่สำคัญในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ
เคยหยิบพระไตรปิฎกมาอ่าน
หรือเปิดดูบ้างไหมว่าคำว่า ..


"ดุสิตบุรี" มีจริงหรือไม่ ?


มาถึงจุดๆนี้..
ก็อยากให้ลองดูในบรรทัดถัดๆ ไป
ว่าเรากำลังปล่อยให้คนในโลกโซเชียล
หลอกเรา.!

หรือโดนวัดพระธรรมกายหลอกกันแน่
มาดูเฉลยข้างล่าง?


ที่จริงแล้ว คำว่า “ดุสิตบุรี”
หมายถึง ..

สวรรค์ชั้นที่ 4


หรือสวรรค์ชั้นดุสิต ?


 ซึ่งเป็นที่ประทับของเหล่าพระบรมโพธิสัตว์
ทั้งหลายรวมถึงเหล่าว่าที่พระอัครสาวกทั้งปวง

อีกทั้งคำว่า “ดุสิตบุรี”
ยังมีปรากฏอย่างชัดเจน.!
ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาอยู่หลายแห่ง
เช่น ในพระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล
ฉบับมหามกุฏฯ เล่ม 14 หน้า 42-43
ทีฆนิกาย มหาวรรค อรรถกถา
มหาโควินทสูตร
ที่มีปรากฏดังนี้..

“..แม้ในอัตภาพถัดจากอัตภาพ
เป็นพระเวสสันดรนั้น เสด็จดำรงอยู่ใน
ดุสิตบุรี ตลอดพระชนมายุ
ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก
พระองค์ทรงเห็นบุพนิมิต 5 อย่างใน
ดุสิตบุรี” นั้นแล้วทรงจุติจาก ดุสิตบุรี ..”

นอกจากนี้ ยังมีปรากฏในพระไตรปิฎก
และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏฯ
เล่ม 32 หน้า 247 อังคุตตรนิกาย
เอกนิบาต อรรถกถาสูตรที่ 1 ดังนี้..

“.. สมัยนั้นพระโพธิสัตว์พระนามว่า
วิปัสสี จุติจาก “ดุสิตบุรี” บังเกิด
ในพระครรภ์ของพระอัครมเหสี ..”





จากตัวอย่างของคำว่า

 “ ดุสิตบุรี ”


ที่มีปรากฏในพระไตรปิฎกที่ยกมาให้ดูนี้
ก็เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งจากที่มีปรากฏ
อยู่หลายๆ แห่งเท่านั้น.!

ถ้าใครต้องการค้นหาคำนี้เพิ่มเติม
ด้วยตัวเองก็สามารถไปค้นคว้า
ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลได้

เพราะฉะนั้นคำว่า “ดุสิตบุรี”
จึงไม่ใช่คำที่ทางวัดพระธรรมกาย
บัญญัติขึ้นมาใหม่เหมือนอย่าง
ที่ใครหลายๆ คนเข้าใจ

แต่เป็นคำเรียก..

สวรรค์ชั้นดุสิต


ที่ใช้ตามพระอรรถกถาจารย์
เพื่อให้จดจำกันง่ายๆ ก็เท่านั้น
ฉะนั้นเวลาจะด่าว่า โพสต์ เม้นท์
หรือหลงเชื่ออะไร ก็อยากให้ลอง
เปิดอ่านพระไตรปิฎกก่อน

เพราะหากเราเอามันส์.. คะนองปาก
อยากด่าวัดพระธรรมกาย
เราอาจบาปหนักเพราะพลาดไป
ด่าว่าคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดยไม่รู้ตัว !


ซึ่งผลกรรมอันนี้ ..
ต่อไปเราจะกลายเป็นผู้ไร้ดวงปัญญา
เกิดในตระกูลต่ำ ตกนรกหมกไหม้
อย่างแสนสาหัสเลยทีเดียว

CR. ทีมวิชาการ


ขอบคุณข้อมูลภาพ : www.dmc.tv , Fbชุรีพร ช่วงรังษี

Click > ตายแล้วไปไหน? ทำไมต้องดุสิตบุรี.!


Dhammakaya-unseen.blogspot.com

กรณีธรรมกาย พลังมวลแห่งศรัทธา คุณค่าของความเชื่อ



..เมื่อคน หรือพระทะเลาะกัน
จะเป็นผู้แพ้ หรือผู้ชนะ ย่อมมีความอ่อนแอ
ซุกซ่อนอยู่เสมอ แล้วแพ้หรือชนะจะมีค่าอะไร..

 ..กรณีธรรมกาย เห็นต่างแต่อย่าทะเลาะ
 เพราะใช่ว่าจะอยู่ร่วมกันไม่ได้
ตราบใดที่ยังไม่หมดกิเลส
อย่าพึ่งมั่นใจว่าความเข้าใจเราถูกทั้งหมด..
 
..รอยขีด 2 เส้น บนผืนทรายหากอยาก
ให้อีกเส้นยาวกว่า ก็ไม่จำเป็นว่า
ต้องลบอีกเส้นให้กุดสั้น ..
เพียงแค่ขีดอีกเส้นนั้นให้ทอดยาวออกไป
เพราะต่อให้ลบเท่าไหร่ 
รอยขีดของเราก็ยาวเท่าเดิม..

..จุดเด่นของพระพุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่ว่า
ให้เชื่ออะไร?  แต่เน้นให้ลงมือทำ
ศาสนานี้จึงเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา..
  

เสียงอ่านฯ กรณีธรรมกาย

นี่ไม่ใช่เรื่องที่ผมถนัดเลยครับ
และใจจริงไม่อยากเขียนถึงด้วย
ผมชอบความสงบร่มเย็นทางใจมากว่าอะไรที่ทำให้ร้อนครับ
เข้าที่ห้องศาสนา จะเห็นกระทู้ "เสียงอ่านฯกรณีธรรมกาย"
แบ่งเป็นตอนย่อยๆ มาโปรยไว้วันละตอนสองตอนเป็นประจำ
ขอชื่นชมว่าขยันกันจริงๆ ครับ 555
คิดในแง่ดี คืออยากให้ความรู้กับเพื่อนสมาชิก
แต่คิดอีกแง่ เหมือนไม่อยากให้ลืมว่าวัดพระธรรมกาย
สอนผิดอย่างไรด้วย!
ผมไม่ค่อยชอบบรรยากาศแบบนี้เท่าไหร่ครับ
ผมเห็นคุณค่าของหนังสือกรณีธรรมกาย
ในแง่เป็นความเห็นทางวิชาการที่น่าสนใจ
แต่จะหมดความน่าสนใจ ถ้าใครเอามาใช้ว่าร้าย
หรือให้ถกเถียงทะเลาะกัน
เมื่อมี "คุณผิด-ฉันถูก" ที่ไหน
เตรียมตัวได้ว่าการทะเลาะจะตามมา
 

เมื่อไหร่ที่เห็นคนทะเลาะกัน
หรือพระทะเลาะกัน
ผมไม่ได้สนใจว่าใครจะชนะ
หรือใครจะแพ้
แต่ผมเห็นความอ่อนแอ ซ่อนอยู่ครับ
คนในครอบครัวทะเลาะกัน ครอบครัวนั้นอ่อนแอ
คนในชาติทะเลาะกัน ชาตินั้นอ่อนแอ
พระในพระพุทธศาสนาทะเลาะกัน
ศาสนานั้นอ่อนแอ แพ้-ชนะจะมีค่าอะไร!!

สมัยพุทธกาลมีเรื่อง"ขำ-ขื่น"

อยากเล่าไว้เป็นอุทาหรณ์สักเรื่องครับ
ขำ-เพราะเป็นเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง
ไม่น่าเป็นเรื่องเป็นราวอะไรได้
ขื่น-เพราะนำไปสู่การทะเลาะวิวาทใหญ่โต
เสียหายกันไปทั่ว

สาเหตุที่ทะเลาะกัน เกิดจาก "ขัน" ในส้วมครับ
ฮึๆ ยังไม่ทันเล่าก็ขำแล้วครับ
พระรูปหนึ่งเข้าส้วมแล้วเผลอปล่อยให้มีน้ำ
ค้างอยู่ในขันคือไม่คว่ำขัน
พระวินัยธรรูปหนึ่ง มาเห็นเข้าก็บอกว่าผิดวินัย
เป็นอาบัติแต่ถ้าไม่แกล้งทำก็ไม่ผิด
พระรูปแรก เห็นว่าตัวไม่ได้แกล้ง
จึงไม่ได้ปลงอาบัติ แล้วก็ไป

เรื่องเล็กเกิดกลายเป็นเรื่องใหญ่ เพราะพระ 2 รูปนี้
เป็นระดับครูบาอาจารย์ ที่มีลูกศิษย์ลูกหา

มากมายด้วยกันทั้งคู่
พระวินัยธรคงไปเล่าให้ลูกศิษย์ตัวฟัง
ว่ามีพระที่เข้าส้วมเป็นถึงแต่ทำผิดยังไม่รู้ตัว
ลูกศิษย์ไปพูดกระทบศิษย์ ของพระที่ไม่คว่ำขัน
ว่าอาจารย์พวกท่านต้องอาบัติก็ยังไม่รู้เลย!
เรื่องจึงลุกลามใหญ่โตฝ่ายหนึ่งหาว่าต้องอาบัติยังไม่รู้
อีกฝ่ายก็สวนกลับว่า ไหนบอกว่าไม่แกล้ง ไม่เป็นไร
อาจารย์พวกท่านกลับกลอกไปกลับกลอกมา

พระทั้ง 2 ฝ่ายจึงเริ่มไหรวบรวมพวกที่คุ้นเคย
ชอบพอกันให้มาเข้ากันกับพวกตัว
ขอบเขตการทะเลาะจึงขยายลามออกไป
จนฝ่ายวินัยธรจัดการลงนิคหกรรม(ลงโทษ)
พระที่ลืมคว่ำขันได้สำเร็จ
ชนะหรือครับ.. เปล่าเลย เพราะฝ่ายที่ถูกลงนิคหกรรม
ก็ไม่แคร์ ทั้ง 2 ฝ่าย จึงแตกกัน ต่างคนต่างอยู่
ไม่ทำสังฆกรรมร่วมกันเหมือนเคย



เรื่องไปถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์จึงเข้ามาแก้ไข

แก้อย่างไร..? 

พระองค์ตำหนิทั้ง 2 ฝ่ายครับ
โดยตำหนิฝ่ายวินัยธรว่า อย่านึกว่าตัวฉลาด
 ต้องคิดด้วยว่า ถ้าปรับอาบัติเขาแล้ว
จะทะเลาะกันก็ไม่ต้องส่งไปปรับมันสิ

ส่วนชุดไม่คว่ำขัน ทรงตำหนิว่าต่อให้ไม่ผิด
แต่คนอื่นเขาเชื่อว่าผิด ถ้าการยืนกรานของเรา
ทำให้ต้องทะเลาะกันไปใหญ่ ก็ให้ยอมรับผิดไปซะ

สรุปตำหนิทั้งคู่ และให้ประนีประนอมกัน เพื่อความสมัคคี
เรื่องน่าจะจบลงด้วยดี แต่เชื่อไหมครับ
พระ 2 กลุ่มนี้ยังคงทะเลาะกันเหมือนเดิมต่อไป
พระองค์สอนอีกหลายครั้งก็ยังไม่ได้ผล
จนทรงใช้วิธีสุดท้าย คือ เมื่อสอนไม่ได้
ก็ไม่สอนมันซะเลย!
 
พระองค์เสด็จออกจากเมืองไปเฉยๆ เลยครับ
พอทรงจากไป ชาวบ้านก็โวยวายละสิคราวนี้
ว่าเพราะพระพวกนี้ เราจึงไม่มีโอกาสได้เห็น
ได้ฟังธรรมจากพระองค์
ชาวบ้านเริ่มรวมหัวกันเลิกใส่บาตร เลิกไหว้
ไม่ให้ความช่วยเหลืออะไรทั้งสิ้น
พระพวกนี้ก็ดิ้นสิครับ
ไอ้ที่เคยข้าก็เก่ง เอ็งก็แน่ กลายเป็นเงียบกริบ
ถ้าขืนทะเลาะกันต่อไป ก็อดตายละครับ
ความพยศผยอง พองลม ดื้อด้านก็หมดไป
รีบเดินทางไปขอให้พระพุทธเจ้ายกโทษให้ตัว
เหลือเกินจริงๆ นะครับ กว่าจะยอมลดราวาศอกกันได้
เล่นเอาวุ่นวายไปหมด พอจะขำ-ขื่นกันบ้างไหมครับ
เรืองเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่คล้ายโดมิโน่

กลับมาเรื่องกรณีธรรมกาย

เห็นต่างก็อย่าให้ทะเลากันเลยครับ
ชาวบ้านอย่างเรา ตราบใดยังไม่หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์
เผื่อใจไว้บ้างเถอะครับว่าสิ่งที่เราคิดเราเห็น
อาจไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด

หนังสือกรณีธรรมกายก็เหมือนกัน
เรื่องไหนที่ไม่มีความรู้ ผมจะฟังหลายด้าน
เรื่องไหนพอรู้บ้าง หรือมีประสบการณ์ผมก็อาจเห็นต่างออกไป
ไม่ได้เชื่อด้วย แต่ก็ชอบครับ
ส่วนที่ให้ความรู้ทำให้ผมรู้เพิ่มขึ้น
ส่วนที่เป็นความเห็นหรือข้อแนะนำ
ผมรับฟังด้วยความสนใจ

อย่างเรื่องนิพพานเป็นอัตตา หรืออนัตตา
ผมมีความรู้แบบงูๆ ปลาๆ ปราชญ์ที่ไหน
ยกเหตุผลมาอ้างอธิบาย ผมก็เคลิ้มไปกับทั้งสองฝ่ายละครับ

บอกว่าเป็นอนัตตา ผมก็อืม!! มีเหตุผล
บอกว่าเป็นอัตตา ผมก็อืม!! มีเหตุผลอีกเหมือนกัน
ฮึๆ เชื่อง่ายครับ

จึงไปหาอ่าน แล้วพบว่ายังมีนักวิชาการ
ทางศาสนาเก่งๆ บางท่านเห็นต่างไปก็มีครับ
เช่น ศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม
ท่านก็นักปราชญ์เมืองไทยครับ ท่านให้ความเห็นไว้ว่า
ขอยกมาบางส่วนนะครับ


"นิพพานอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน
หมายถึง นิพพานของพระอรหันต์ที่สิ้นชีพดับขันธ์แล้ว
นิพพานชนิดนี้มีปัญหาถกเถียงกันมาก
และถกเถียงกันมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
มีคนทูลถามพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วว่า
พระอรหันต์สิ้นชีพแล้วอะไรเกิดขึ้น..
ท่านยังมีอยู่ หรือไม่มีอยู่

ความจริงพระพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก
ก็ได้ประทานคำตอบไว้แล้วในพระไตรปิฎก
แต่ถึงกระนั้น คนก็ยังถกเถียงกันอยู่
"

 

เพราะเหตุไร?

ก็เพราะคำตอบเหล่านั้นยังไม่ชัดเจนพอ
บางทีก็ตอบเชิงปฏิเสธ (Negative)
ว่านั่นก็ไม่ใช่ นี้ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่อะไรสักอย่าง
บางทีก็ตอบว่า นิพพานลึกซึ้งจนพูดถึงไม่ได้
อธิบายไม่ได้


ด้วยท่าทีแบบนี้ จึงมีชาวพุทธเถรวาทเป็นอันมาก
เช่น ท่านพุทธทาส เป็นต้น
ยอมรับเฉพาะ "นิพพานทางจิตวิทยา" เท่านั้น
ไม่ยอมรับนิพพานที่เป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง
ที่มีอยู่โดยตัวเองในเอกภพ หรือที่นักวิชาการสมัยใหม่
ศจ.ดร.วิทย์ วิศทเวทย์ เรียกว่า "นิพพานแบบ
อภิปรัชญา"
(Metaphysical Nirvana)

ท่านเหล่านี้เชื่อว่า เมื่อพระอรหันต์สิ้นชีพ
ดับขันธ์ลง ทุกสิ่งทุกอย่างก็สิ้นสุดลงแค่นั้น
ชีวิตของท่านก็ดับไป เหมือนไฟหมดเชื้อ
เหมือนตาลยอดด้วน ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย


ปัญหาที่ใคร่จะพยายามตอบ
ในบทความนี้ก็คือว่า
นิพพานแบบอภิปรัชญา..มีอยู่หรือไม? 
คำตอบที่พบในพระไตรปิฎก แบบยอมรับว่ามี
ถ้าสนใจลองไปอ่านกันดูครับ

(แต่ถ้าไม่ซีเรียสจริงจัง ก็ผ่านไปเถอะไม่ปวดหัวดี)
---------------------------------------------------------------------------
http://www.oocities.org/tokyo/field/1244/interest/int06271.htm
http://www.oocities.org/tokyo/field/1244/interest/int06272.htm

----------------------------------------------------------------------------
เรื่องอื่นๆ ในหนังสือนอกจากนี้ผมคงขอข้ามไป
ที่ยกมาไม่ใช่ว่าอยากให้ทะเลากัน
แต่อยากชี้ให้เห็นว่า.. 
  
คนที่เห็นต่างมันมี
ดังนั้นสามัคคีกันดีกว่าครับ!


ต่างคนต่างก็ยังไม่ไปนิพพานอะไร
ชาตินี้ก็ใช่จะไปถึงเหมือนคนเริ่มเดินทาง
แต่ทะเลาะกันเรื่องปลายทางว่าเป็นอย่างไรซะแล้ว

จุดเด่นของพระพุทธศาสนา  

ไม่ใช่อยู่ที่ว่าให้เชื่ออะไร..!

แต่เด่นตรงที่ลงมือทำครับ !!!

ศาสนานี้จึงเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา
ไม่ต้องเชื่อ แต่ให้ทำไปจนกว่าจะเห็นตัวตาตัวเอง
ศาสนานี้จึงให้ความสำคัญกับ "ทาง" หรือ "มรรค"
หรือ "ปฏิปทา" ในระดับที่ทรงท้าว่า
"เอหิปัสสิโก" เชิญมาพิสูจน์ดู

ความเห็นต่างจึงไม่ได้หมายความว่า
จะอยู่ร่วมกันไม่ได้
และอย่างเพิ่งมั่นใจว่าความเข้าใจของเรา
ถูกต้องอยู่คนเดียว
 






ความเห็นที่ต่างกันเหมือนเส้น 2 เส้น
ที่ขีดให้ยาวเท่ากันบนผืนทราย
การจะให้เส้นของฝ่ายหนึ่งยาวกว่าอีกฝ่ายหนึ่งได้
ทำได้ 2 วิธีคือ
ลบเส้นของฝ่ายตรงข้ามให้สั้นลง
หรือขีดเส้นของเราให้ยาวขึ้น


โดยส่วนตัวผมชอบวิธีหลัง..
มันสง่างามกว่ากันเยอะเลยครับ
ลบเส้นของเขา เส้นของเราก็เท่าเดิม
ไม่ได้ดีเด่อะไรขึ้นมา

ผมเชื่อครับว่าทุกคน ทุกวัด
อยากทำให้พระพุทธศาสนาเจริญ

ดังนั้นเมื่อมั่นใจว่าความเข้าใจของเราถูก
ก็ขีดเส้นของเราให้ยาวออกไปครับ

เห็นนิพพานเป็นอนัตตา ก็ไปสอนญาติโยม
ให้ลงมือรักษาศีล นั่งสมาธิ จนเกิดปัญญา
ให้โยมเข้าถึงนิพพานอนัตตานั้น

เห็นว่าทำบุญแล้วอย่าสร้างใหญ่โต
ต้องแล้วแต่ศรัทธา หรือจะอะไร
ก็ไปฝึกญาติโยมให้ทำบุญให้ได้อย่างที่เราคิด
ความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่พูดให้เขาเชื่อ
แต่อยู่ที่ฝึกให้เขาทำตามที่เราเชื่อได้สำเร็จ
จนเห็นผล..!!!


แปลงสิ่งที่คุณคิดคุณเข้าใจ
ให้เป็นรูปธรรมเถอะครับ
ชาวพุทธอีกหลายสิบล้าน รอท่านไปชวน
ไปสอน ไปฝึกให้เขาทำอยู่
คนเชื่อตามแบบวัดพระธรรมกายมีไม่มาก
เมื่อเทียบกับคนไทยทั้งประเทศ

ชาวพุทธที่ไม่เชื่อพระพุทธเจ้าจริงจัง
หรือเชื่อครึ่งๆ กลางๆ ยังดื่มเหล้า สูบบุหรี่
เล่นการพนัน หมกมุ่นกับอบายมุข
ศีล 5 ยังไม่ครบน่าจะมีหลายสิบล้านคน
และที่ยังเชื่อเจ้าพ่อเจ้าแม่ ทรงเจ้าเข้าผี
หมอดูดวงชะตา ที่ไม่ใช่พระรัตนตรัย
น่าจะอีกหลายล้านเหมือนกัน

วัดพระธรรมกายสร้างขึ้นโดยแม่ชีอายุ 60 ปี
คนหนึ่งที่อ่านหนังสือไม่ออก

 เขียนไม่ได้ยังทำได้ขนาดนี้
วัดอื่นๆ มีพระ มีโยม มีความรู้มากกว่านี้ตั้งเยอะ
ลุยเลยครับ..ผมเชียร์


ขอให้สนุกสนานในการทำความดีครับ

Cr.Neocitran
Link -- http://pantip.com/topic/34981936

ติดตามอ่านทุกกระทู้สนทนาได้ที่
Link -- http://pantip.com/profile/2932812

พระธัมมชโยป่วยจริง! อาการรุนแรงระดับสูงสุดหมอกล่าวไว้



 
นพ.ธนาคม เปรมประภา

ศัลยแพทย์หลอดเลือด

ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


จากกรณีที่มีการออกหมายเรียก

เพื่อให้หลวงพ่อธัมมชโย

มารับทราบข้อกล่าวหาจาก DSI นั้น

สร้างความกังขาให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก

ว่ามีความชอบธรรม และละเมิดสิทธิผู้ป่วยหรือไม่?



เพราะว่าหลวงพ่อธัมมชโยยังไม่ได้มีฐานะเป็น

"จำเลย"

และทุกอย่างยังอยู่ในขั้นตอนกระบวนการไต่สวน
เมื่อทีมทนายยื่นเรื่องเพื่อขอเลื่อนการเข้าพบ
เนื่องจากติดปัญหาเรื่องสุขภาพ
แต่ DSI กลับออกแถลงการณ์ผ่านเอกสาร
แทนการออกมาแถลงด้วยตัวเอง
ในไม่กี่ชั่วโมงถัดมาว่า
จะขอศาลอนุมัติหมายจับในวันรุ่งขึ้น
(อังคารที่ 26 เมษายน 2559)

ความจริงเมื่อครั้งที่  DSI นำโดย
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง และคณะ
ได้เคยมาเข้าพบหลวงพ่อธัมมชโย
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2558
ท่านเคยแม้กระทั่ง..
เอามือไปจับตัวหลวงพ่อธัมมชโย
เปิดดูขา และแผลที่เกิดจากโรคเบาหวานเรื้อรัง
พร้อมกับเสียงอุทาน..แบบเกินคาด กันทั้งกลุ่ม!

  จนเกิดเป็นคำแถลงการณ์ในครั้งนั้นว่า  

     หลวงพ่อธัมมชโยท่านป่วยจริง!!    






เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทำให้ประชาชนตั้งสงสัย
เรื่องความเป็น ธรรม หรือ อยุติธรรม
ของ DSI ผู้ที่ได้ชื่อว่ารักษากฎหมาย
ความยุติธรรม...ที่พึ่งได้! 
จริงหรือ ?
การรวบรัดตัดตอนออกหมายเรียก
ขอหมายจับอย่างเร่งด่วนภายในเวลา 24 ชั่วโมง
ทั้งที่หลวงพ่อธัมมชโยไม่มีทีท่าว่าจะหลบหนี
และการเลื่อนนัดสามารถทำได้ถึง 3 ครั้ง
ยังไม่นับรวมความผิดปกติในการสืบสวน
คดีนี้อีกหลายประการจึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า..

     คดีนี้มีธงดำจากใคร?  

     และใคร?     

     มติขอหมายจับ แท้จริง

     เป็นมติของ DSI หรือของใครในม่านมืด?   

หลังจากนั้นได้มีการเปิดเผยภาพ
อาการป่วยของหลวงพ่อธัมมชโยผ่านสื่อต่างๆ
และมีการแชร์ออกไปผ่านสื่อโซเชียล
อย่างรวดเร็ว..ยิ่งกว่าพายุโซนร้อน
ซึ่งก่อนหน้านี้ภาพทั้งหมด!
ยังไม่เคยมีการเปิดเผยต่อสาธารณชนมาก่อน

หากไม่เกิดจากกรณีที่ DSI แถลง
กล่าวหาว่าพยานว่า อาการอาพาธนั้น
เป็นไปในลักษณะที่หลีกเลี่ยงกฎหมาย!
ทั้งๆ ที่อาการป่วยของหลวงพ่อธัมมชโย
DSI ได้เห็นก่อนใคร!!

แต่เมื่อมีการกุกระแสป่วยจอมปลอมขึ้นมา
ภาพนี้จึงได้ปรากฏต่อสายตา
และออกสู่สาธารณชนในที่สุด!

แน่นอนว่ามีการแสดงความคิดเห็นทางเฟสบุค
ไหลหลากจากสังคม ในหลายอารมณ์ความรู้สึก
แต่ที่น่าสนใจเป็นคือการแสดงความคิดเห็นจาก
นายแพทย์ท่านหนึ่งที่กล่าวถึง
อาการป่วยของหลวงพ่อธัมมชโยว่า..




กราบนมัสการหลวงพี่ 
และสำนักสื่อสารองค์กรวัดพระธรรมกายครับ 

ผมเป็นศัลยแพทย์หลอดเลือด

ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ครับ 

อาการของหลวงพ่อที่เห็น
เป็นอาการที่เรียกว่า 
chronic venous insufficiency 
ซึ่งโดยปกติเราแบ่งความรุนแรงเป็น 6 ระดับ 
ซึ่งจากภาพที่เห็นผมเชื่อว่าเป็นระดับ 6 ครับ 
ซึ่งเป็นระดับที่แย่ที่สุด! 

และดูจากขาที่บวมมากตลอดทั้งขานั้น 
คิดว่าเป็นจากมีหลอดเลือดดำอุดตัน 
ซึ่งผมเคยทราบมาว่าหลวงพ่อ
มีปัญหาเรื่องหลอดเลือดดำอุดตัน 
แต่ไม่ทราบจนกระทั่งได้เห็นภาพว่า
อาการรุนแรงมาก!! 


ในความเห็นของผมควรนอนพัก
ยกขาสูงกว่าหัวใจเพื่อลดอาการบวม 
หลีกเลี่ยงการนั่งห้อยเท้า 
เพราะจะทำให้อาการแย่ลงครับ 
โดยเฉพาะถ้าบวมมากอาจมีการติดเชื้อ
แทรกซ้อนด้วยได้.. 

จากลักษณะเท้าที่บวมแดงนั้น 
เชื่อว่าน่าจะมีการติดเชื้อร่วมด้วย 
ในผู้ป่วยซึ่งอายุมากและมีโรคประจำตัว
เป็นโรคเบาหวาน
จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติครับ 
และเชื้อโรคอาจแพร่เข้าสู่กระแสเลือด
เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ครับ 
ผมยินดีให้ความเห็นทั้งต่อ DSI และศาลครับ! 

นพ.ธนาคม เปรมประภา



เราทุกคนต่างรู้ว่าที่ไม่ไป..
ไม่ใช่เพราะจงใจขัดขืนไม่ให้ความร่วมมือ
แต่เพราะเรายึดถือความถูกต้อง!
ตามกฎหมายบ้านเมือง 
และจะไม่ยอมให้คดีนี้
กลายเป็นบรรทัดฐานความไม่ถูกต้อง
ของประเทศชาติต่อไป 
เพราะเราเชื่อมั่นว่า..
หนึ่งถูกยังดีกว่าล้านผิด 
แม้ต้องแลกด้วยชีวิต
เราก็ไม่ยอมก้มหัวให้ความไม่ถูกต้อง.


อีกกี่ร้อยปีก็ไม่เคยเปลี่ยน

มโนปณิธานในการบวช 

ของพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) 



"มาบวชนี่อยากจะมีเวลาว่างมากๆ
สำหรับที่จะ ศึกษาพระธรรมคำสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แตกฉาน
จนกระทั่งไปถึงที่สุดแห่งทุกข์

แล้วก็อันที่ 2 ก็อยากจะนำความรู้ต่างๆ
ที่ได้รับการถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์
ไปแนะนำสั่งสอนชาวโลก
ให้ชาวโลกทั้งหลายนี่ได้เข้าถึงสัจธรรมภายใน
ได้เข้าถึงสิ่งที่มีอยู่ ได้เข้าถึงธรรมกาย
นี่เป็นเป้าหมายหลัก ๒ อย่าง


จึงทำให้มาบวชแล้วก็มาสร้างวัด
โดยชักชวนหมู่คณะให้มารวมกัน
มีหลวงพ่อทัตตะ เป็นต้น
และทีมงาน ได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจเพื่อการนี้

เพราะฉะนั้น เรามีวัตถุประสงค์
สองอย่างนี้เท่านั้นแหละ
ดังนั้นข้อกล่าวหาอะไรต่างๆ
ที่เขาว่าใช้วัดเป็นเครื่องมือ
ในการแสวงหาทรัพย์มาเพื่อความร่ำรวย
ไม่ใช่ ไม่ใช่เป็นไปตามที่เขากล่าวหา
แต่ความจริงเป็นอย่างนี้!
 
เพราะฉะนั้นในปัจจุบันนี้นี่
ในเมื่อเราๆ ทั้งทีมนี่ได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจ
ในการสร้างสิ่งนี้ขึ้นมาแล้ว
ก็ยังรักษาเป้าหมาย มโนปณิธานอย่างนี้ต่อไป
และมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าว่า
จะทำงานต่อไป ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
จนกว่าเป้าหมาย 2 อย่าง
จะบรรลุเป้าหมาย


คือ หลวงพ่อและทีมงาน
ได้ไปถึงที่สุดแห่งกองทุกข์
คือดับทุกข์ได้ ถึงที่สุดแห่งธรรม

และชาวโลกทุกๆ คนได้เข้าถึงพระธรรมกาย
เข้าถึงสันติสุขภายในโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ
ศาสนา และเผ่าพันธุ์




ติดตามข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมได้ที่ Link : คดีนี้มีธง!

เรียบเรียงโดย คนธรรมรำพัน
Cr. vedio clip จาก Fb ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ
Cr. ภาพจาก FB Dhanakom premprabha, เดลินิวส์,กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

วัดดัง! พิธีกรรมวังเว่อร์ เน้นใหญ่ ไม่ธรรมชาติ




ศาสนาพุทธ เน้นทางสายกลาง 
เน้นอะไรที่เป็นธรรมชาติ ลดการปรุงแต่ง
แนวคิดอะไรที่เน้นความใหญ่ ความเยอะ
ความสวย ความเป็นระเบียบ
เกินกว่าธรรมชาติ มีการจัดตั้งปรุงแต่ง
จะเป็นพุทธศาสนาได้ยังไง ?


ผมหมายถึงแนวคิด หรือจิตวิญญานของวัด
ที่เน้นความใหญ่ ความสวยงาม
ความมีระเบียบ!
 
คนทั่วไปมองรูปภาพที่ถ่ายจากงานขิงวัดแว่บเดียว!
ก็รู้แล้วว่าวัดนี้ผิดปรกติ  เหมือนในฉากหนังฉากละคร
มีแต่คนที่อยู่กับวัดจนเคยชินจนมองเป็นเรื่องธรรมดา
แต่คนนอกมองแว่บเดียว ก็รู้ว่าผิดธรรมชาติ



 

เอาเป็นว่าคุณไม่ได้ติดใจ
เรื่องสิ่งก่อสร้างของวัดนะครับ
แต่สงสัยเรื่องแนวคิดในการจัดงาน
ออกตัวก่อนว่า
ถือว่าคุยแลกเปลี่ยนกันนะครับ..

ผมขอเรียกส่วนที่คุณสงสัยว่า
เป็นเรื่อง "พิธีกรรม" เลยนะครับ (หวังว่าจะตรง)
คุยกับคนแก่วัยดึกก็ทำใจนิดครับ
บางทีต้องลงรายละเอียดลึกๆ เหมือนกัน
ตอบสั้นๆ จะไม่ค่อยได้อะไร



พิธีกรรมที่เราคุ้นมากๆ ก็มักจะมีพวก
ธูป เทียน โต๊ะหมู่บูชา สายสิญจน์    
บทสวดของพระ อะไรทำนองนี้นะครับ
ซึ่งรวมๆ ที่ทำไปเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์
เกิดผลทางใจกับผู้มาร่วมงาน
ทำให้ใจสงบอยู่กับพิธีกรรมได้ตลอดต้นจนจบ
นี่เป็นเป้าหมายในการจัดพิธีกรรมทางศาสนาทั่วๆไป
ซึ่งคุณรู้สึกว่าวัดพระธรรมกายทำไม่เหมือนใครเขา
เลยรู้สึกว่ามันผิดปกติจะรู้ว่าผิดปกติหรือถูกปกติ
ก็ต้องไปดูก่อนครับว่า "ปกติ" จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร


ถ้าย้อนไปดูในสมัยพุทธกาล
จะพบว่าไม่มีเรื่องพวกนี้เลย
ธูป ไม่มีแน่ (มีแต่ของหอม ซึ่งไม่มีควัน)
เทียน ก็พัฒนามาจากประทีป ธูป 3 ดอก
เทียนคู่ 2 เล่ม นี่ก็คิดกันเองภายหลัง
โต๊ะหมู่บูชาไม่มีนะครับ
พระประธานไม่มี
สายสิญจน์ ไม่มีอีก
ที่จริงฮาร์ดแวร์ แบบโบสถ์ประเทศไทย
ช่อฟ้า ใบระกา ก็ไม่มีนะครับ
งานสำคัญๆ เช่น มาฆบูชา วิสาขบูชา
อาสาฬหบูชา พุทธกาลก็ไม่มีเช่นกัน




สรุปว่าทุกอย่างมามีภายหลังทั้งนั้น
และแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกันซะอีกด้วย
พุทธพม่ากับพุทธไทย พุทธลาว พุทธเขมร
พิธีกรรมอาจละม้ายคล้ายกันบ้าง
แต่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว ก็ขึ้นอยู่กับว่า
แต่ละที่มีอะไรให้ใช้ หรือวัฒนธรรมประจำถิ่น
เป็นอย่างไรด้วย


ขนาดพระในกรุงเทพให้ศีลให้พร
ยังไม่เหมือนพระทางเหนือ อีสานให้เลยครับ
บังเอิญว่าประเทศพุทธเถรวาทแถวนี้
สมัยก่อนก็ไม่มีขอบเขตประเทศ รบกันไปรบกันมา
ต้อนผู้คนไปมาปัจจุบันจึงมีอะไรคล้ายๆ กัน
เพราะคนมันปนเปกันมาตั้งแต่อดีต
สิ่งที่คุณ-ผม คุ้นในปัจจุบัน
คือสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งนั้นครับ



 
 
อย่างโต๊ะหมู่บูชา ทราบใช่ไหมครับว่า
เราได้แบบมาจากจีน ไม่ใช่ของไทยเป็นต้นนะครับ
สรุป---สิ่งที่คุณว่าแปลก เพราะคุ้น
กับแบบที่เคยเห็นมาตั้งแต่เด็ก
ผมก็คุ้นแบบนั้นครับ แต่ก็พอเข้าใจว่า
พิธีกรรมมันมีไว้เพื่ออะไรด้วย
การมี “พิธีกรรม” ถามว่าจำเป็นไหม ?


จำเป็นครับ!  ที่บรรพบุรุษท่านกำหนดมา      
ก็เพื่อให้เกิดแบบแผนที่ดีงาม


และต้องทำให้เกิดบรรยากาศที่ศักดิ์สิทธิ์
เพื่อที่จิตใจจะได้สงบ น้อมระลึกไปถึงพระรัตนตรัยได้ง่าย
ถ้าทำตามนี้ได้ พิธีกรรมนั้นก็ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์


ตามที่คุณว่ามา “แนวคิดหรือจิตวิญญาณ
ของวัดที่เน้นความใหญ่ ความสวยงาม
ความมีระเบียบ คนทั่วไป
มองรูปภาพที่ถ่ายจากงานของวัด
แวบเดียวก็รู้แล้วว่าวัดนี้ผิดปรกติ
เหมือนในฉากหนังฉากละคร”


ผมว่าวัดเขาก็ใช้แนวคิดของพิธีกรรม
ตามที่เล่าให้ฟังมา และเอื้อต่อลักษณะ
ที่บรรพบุรุษคิดมาด้วย
เพียงแต่อาจต่างทางรูปลักษณ์ไปบ้างเท่านั้นเอง
เน้นใหญ่ – คือผมมาวัดตั้งแต่มันไม่ใหญ่นะครับ
จึงเห็นพัฒนาการเรื่องพิธีกรรมของวัดมาตลอด
แล้วพบว่าวัด ไม่ได้เน้นความใหญ่ครับ






ใหญ่มากเปลืองเงิน วัดเขาก็เสียดายนะครับ
ถ้าคุณมายืนอยู่ในศูนย์กลางพิธีของวัด
คุณจะพบว่า มันไม่ได้ใหญ่เพราะอยากให้ใหญ่
แต่เพราะคนมาก สเกลการจัดงานจึงใหญ่ตามมา
งานไหนคนน้อยวัดก็จัดเล็กครับ 
การจะทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน
มันบังคับให้ต้องคิดเยอะทีเดียวว่าทำอย่างไร
จึงจะคุมบรรยากาศอยู่ (อธิบายยากมากครับ
และจะยาวมากด้วย  555 ต้องมายืนตรงนั้นครับ)
เช่น มาฆบูชา จะมีประทีปขนาดใหญ่
ใหญ่มากครับอยู่หน้าสุด สำหรับประธานดูใหญ่เว่อร์มาก
แต่เชื่อไหมครับมันดูเล็กกระจิ๋วเดียว
สำหรับคนที่นั่งอยู่ท้ายๆ




ถ้าเป็นโคมเล็กๆ คนอื่นมองไม่เห็นครับว่าเขาทำอะไร 
บางทีประธานมีครอบครัวหมู่ญาติหลายคน
เอาโคมเล็กๆ มาให้จุด ก็เหมือนรุมกัน
เหมือนไม่ให้เกียรติมันจึงถูกบังคับให้ใหญ่ครับ

และการดึงใจคนให้มารวมอยู่ที่เดียวกันสำคัญ
ดังนั้นมันต้องใหญ่ แต่วัดก็สร้างแล้ว
เก็บไว้ใช้ได้หลายสิบปี ทำทีเดียวคุ้มครับ

ส่วนที่ว่า..

 “เน้นความสวยงาม ความเป็นระเบียบ”
ผมถือว่าเป็นคำชมวัดนะครับ ..


ภาพความเป็นระเบียบผมว่าวัดทำดีแล้ว
ถ้าพิธีกรรมทำออกมาแล้วไม่สวย
น่าเกลียด และวุ่นวาย ไม่มีระเบียบเลย
อันนี้สิไม่เข้าท่า!


อย่างที่บอกครับ ที่ให้สวย และเป็นระเบียบ
เพราะต้องการสื่อสารให้สาธุชน
ให้ความเคารพในพระรัตนตรัยครับ
ทำให้พระพุทธเจ้า หลวงพ่อผมบอก
"ต้องดีที่สุดครับ อย่าทำลวกๆ"



"เหมือนฉากหนังละคร" ตรงนี้ผมไม่เห็นนะครับ
ถ้าใช่พวกหนัง ละครคงเอาแบบจากวัด
ไปใช้มากกว่า..


ผมไม่รู้จะอธิบายความรู้สึกของผู้คน
ที่มองอะไรไม่เหมือนกันอย่างไร
ถือว่าเป็นความเห็นเฉพาะบุคคลก็แล้วกันนะครับ





เรื่อง “พระแต่งเหมือนตัวงิ้วตัวละคร”
ตรงนี้นึกไม่ออกครับว่าหมายถึงอะไร
ขอดูภาพหน่อยได้ไหมครับ


แต่ระวัง!!! อย่าเอาภาพตัดต่อ
ที่มีคนทำมาใส่ร้ายพระมาลงนะครับ
ตรวจสอบก่อนด้วย

ขอบคุณครับ


Cr.Neocitran

ติดตามกระทู้ของ Neocitran–Pantip
Link :
http://pantip.com/profile/2932812

กรณีเรี่ยไร บังคับทำบุญ คนบอกบาปไหม?


คำถามข้อที่ 3 เคยได้ยินเขาบอกว่า
ถ้าใครไปเรี่ยไรเขาทำบุญ เขาไม่เต็มใจทำ
แล้วทำบุญมาเราจะบาปนะจริงไหมคะ ?
วัดธรรมกายสอนเรื่องการเรี่ยไรยังไงคะ?

(ตอบจริงๆอย่าสร้างภาพนะคะ
เพราะคนเขาลือเรื่องเรี่ยไรของวัดกันมาก)



ความจริงไม่ว่าเรื่องอะไร
พระพุทธเจ้าทรงแยกแยะนะครับ
ไม่เอามาปนกันเหมือนอย่างที่ผมบอกไป
การกระทำของใคร จะดีหรือชั่วก็ให้ผลกับคนๆนั้น

เฉพาะบุคคล คนอื่นทำกรรมแล้วจะให้อีกคนรับแทนไม่ได้
นี่คือหลักกฎแห่งกรรมครับ


กรณีเรี่ยไร..
คนที่ไปเรี่ยไรหรือไปชวนคนทำบุญ
เมื่อไปชวนด้วยความบริสุทธิ์ใจ คนไปชวนทำบุญ
จะได้บุญจากการชวนคนทำความดี
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าไปเกิดที่ไหน
จะมีพวกพ้องบริวารที่เป็นคนดีๆ มาก


แต่ถ้าเกิดชวนแบบบังคับ ขู่เข็ญ หรือพูดจากระทบ
ให้เขายอมทำเพราะเสียไม่ได้
หรือพูดเลียบเคียงอย่างเช่น แหม.. ดูท่าจะรวยทำไมทำนิดเดียว
เองล่ะอย่างนี้นะครับ ก็จะได้บุญในส่วนของการชวนคนทำความดี
แต่เพราะวิธีไม่ถูก ตรงนี้จะติดบาปมาครับ
ส่วนจะส่งผลอย่างไรต่อไปไม่ทราบครับ
บุญส่วนบุญ บาปส่วนบาป
สำหรับคนถูกชวนถ้าทำตามปกติ ก็ได้บุญตามที่ทำ

 
แต่ถ้าไม่เต็มใจทำ ฝืนทำ หรือทำแล้วเสียดาย
ก็ได้บุญจากการทำครับ แต่เพราะใจไม่ยินดี
บุญที่ควรจะได้ก็ลดลงครับ ได้ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์
พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนว่า..
เวลาทำบุญให้ทำใจหรืออารมณ์ให้ผ่องใส
ทั้งก่อนทำ ขณะที่ทำ และหลังจากทำแล้ว
คืออย่าให้ใจขุ่นมัว อย่างคนที่ทำไปแล้วเสียดาย
พวกนี้เวลาบุญให้ผลจะทำให้มีทรัพย์
แต่เพราะเสียดายก็จะใช้ทรัพย์นั้นไม่ได้เต็มที่
เช่น จะเป็นคนขี้เหนียว มีเงินก็ได้แต่ไว้ชื่นชม
ตัวเองไม่ค่อยได้ประโยชน์จากเงินนั้นเท่าที่ควร



เรื่องการเรี่ยไรของวัด ผมไม่ทราบนะว่าใครลืออย่างไร?
จริงเท็จแค่ไหน?
แต่สำหรับผมกับคนที่รู้จักกัน ก็ทำแบบที่หลวงพ่อสอน 
คือหลวงพ่อจะชวนพวกเราทำบุญแล้วแต่ว่าเรื่องอะไร
เช่น ชวนทำบุญเป็นเจ้าภาพบวชสามเณร หรือบวชพระ
เราก็ออกไปชวนคนรู้จัก ทำเท่าไรก็แล้วแต่เขา
ความจริงผมก็รู้ลิมิตคนที่เราชวนนะ
ว่าเขาทำบุญประมาณไหน
ก็ให้เขาทำตามสะดวก


มีบางเรื่องที่มีการแยกย่อยเป็นจำนวนเงินออกมาเลย
เช่น สมมุติเป็นเจ้าภาพบวช 1 คน 2,000 บาท
ถ้าอย่างนี้เราจะชวนให้เขาเป็นเจ้าภาพบวช 1 คนเลย
เพราะเราคิดว่าเขาน่าจะดีใจที่ได้ทำ
เวลานึกถึงว่ามีคนได้บว 1 คน
เพราะเขาตัวเขาเองก็น่าจะมีความสุข
แต่ถ้าเขาไม่ทำ หรืออาจจะทำ 50 บาท เราก็รับครับ
เพราะเดี๋ยวมันก็จะมารวมกับคนอื่นๆ ที่ทำไม่ถึงอยู่ดี
 การชวนคนทำบุญของวัดไม่ซับซ้อนนะครับ
แล้วที่จริงผมก็ชวนไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ 555
ส่วนใหญ่เป็นกองเชียร์ แล้วทำเองเป็นหลักครับ



ถ้าจะมีชาววัดไปชวนแล้วคะยั้นคะยอให้ทำแบบเกินปกติ
โดยมากมักจะเพราะคุ้นเคยสนิทสนมกันครับ
ตรงนี้แต่ละคนต้องหาความพอดีกันเอง
แต่ถ้าจู้จี้จุกจิกเกินไป ผมก็ไม่สนับสนุนนะ
แล้ววัดก็ไม่อยากให้ทำอย่างนั้นด้วย เสียชื่อวัดครับ

ยินดีที่ได้คุยกันนะครับ

Cr.Neocitran

คำถาม ความสงสัย เกิดขึ้นได้เป็นเรื่องธรรมดาคะ
แต่จะผิดธรรมดาก็ตรงที่ เมื่อสงสัยแล้วไม่แสวงหาคำตอบ
และไม่มีโอกาสศึกษาข้อมูลให้ครบทุกด้าน
เพราะเราไม่อาจรู้ว่าเราจะโชคดีหรือโชคร้าย
ที่ได้รับข้อมูลเท็จหรือแท้
เหมือนคำถาม ที่มีคำตอบในตอนหน้าที่ว่า

ทำไมวัดพระธรรมกายจึงจัดพิธีกรรมวังเว่อร์
เหมือนฉากในหนังในละคร? 

แถมด้วยว่า พระก็แต่งตัวเหมือนงิ้วในละคร!


ติดตามกันในบล็อคหน้านะคะ


ติดตามกระทู้ของ Neocitran–Pantip
Link :
http://pantip.com/profile/2932812



ทำบุญอธิษฐาน อานิสงส์ Delivery

การอธิษฐานเป็นการกำหนดจิตของเรา
ให้มุ่งหน้าไปทางที่ต้องการ

โดยอาศัยบุญนำทาง..

พระพุทธเจ้าเมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์เมื่อทำบุญ
ท่านก็อธิษฐานเรียกว่า "อธิษฐานบารมี "


คำถามที่ 2 เห็นเพื่อนมาวัดบอกว่า
ทำบุญแล้วต้องอธิษฐาน 
นี่คือทำบุญหวังผลรึเปล่า ?  
ถ้าทำบุญแล้วหวังผลจะได้บุญหรอคะ ?




เรื่องทำนองนี้ผมก็ฟังมาเยอะครับ
ใจจริงผมอยากรู้นะว่า ต้นตอมันมาจากไหน
ทำไมคนถึงคิดว่าใช่ แต่ถามไปถามมาก็มักจะเข้าทำนอง
“เขาเล่าว่า” เป็นส่วนใหญ่นะครับ

ตั้งแต่เด็กเวลาไปวัดทำบุญกับย่ากับยาย 
ผมเห็นท่านอธิษฐานทุกครั้งนะครับ
คำว่า “นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ” นี่ท่องได้ตั้งแต่เด็ก
เห็นคนเฒ่าคนแก่ก็ทำแบบนี้กัน

คือทำบุญอะไรก็พนมมือท่วมหัวอธิษฐาน
แล้วลงท้ายด้วยประโยคนี้ทุกที


มีตอนที่โตขึ้นมานี่ละครับ!
ที่ได้ยินคนสมัยนี้ตั้งคำถามแบบที่คุณถามมา

ไปดูกันครับ อ้างแบบทีเดียวจบเลยนะครับ


พระพุทธเจ้าของเรา สมัยเป็นพระโพธิสัตว์
ท่านทำบุญก็อธิษฐานนะครับ เรียกว่า “อธิษฐานบารมี”


เป็น 1 ใน 10 ของบารมี ที่พระโพธิสัตว์ต้องสร้างต้องทำ
ไม่ทำเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้

บางชาติท่านทำบุญด้วยเข็มด้วยด้าย หรือผ้าสักผืน
ท่านก็อธิษฐานว่า ขอให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
(สมัยนี้เขาคงว่าท่านค้ากำไรเกินควร 555)


ผมเล่าอย่างนี้ดีกว่า พระพุทธเจ้าเราเวลาท่านมองเรื่องอะไร
จะแยกแยะแจกแจงเป็นส่วนๆ ไปครับไม่ปนกัน
อย่างบุญกับบาป ก็แยกแยะ ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป
(บุญไปลดบาปไม่ได้ บาปก็ลดบุญไม่ได้มันแย่งกันให้ผลของมันเอง)


เมื่อเราทำความดี เช่น ให้ทาน รักษาศีล หรือทำภาวนา
กิเลสหุ้มใจลดลง "บุญก็เกิด" บุญเกิดทุกครั้งเมื่อทำความดี
(ยังไม่ต้องอธิษฐานบุญก็มาแล้ว)



คราวนี้ ถ้าหวังให้บุญส่งผลอย่างไร (คล้ายๆ เอาบุญไปใช้)
ก็ดูต่อไปว่า จิตที่หวังนั้นเกิดจาก “กุศล” หรือ “อกุศล”
อย่างตั้งใจดี อยากให้บุญนี้ส่งเสริมให้เกิดความดีงามกับชีวิต
ให้ชีวิตได้สร้างบุญต่อไป ให้...สารพัด

จนขอให้ได้ไปเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต

อย่างนี้เกิดจากจิตที่เป็นกุศล มุ่งความหลุดพ้น...
บุญที่มีอยู่ก็จะทำหน้าที่ของมันไป ไม่ได้ลดไปไหน
แถมได้อธิษฐานบารมีเพิ่มมาด้วย
(เดี๋ยวค่อยขยายครับ)


ตรงข้ามทำบุญเสร็จ บุญเกิดแล้วหวังร้ายๆ
เช่น เกลียดใคร ก็อยากให้คนนั้นพินาศย่อยยับ
หรือขอให้หล่อสวยใครเห็นให้หลงรักให้หมด 555
แบบนี้เกิดจากโมหะ คิดอย่างนี้บาปก็เกิดในใจ
(แม้ไม่มากมายอะไรก็ตาม)


บุญที่เกิดมาก่อน ก็ทำหน้าที่ของบุญไป
คือส่งเสริมให้ได้ในสิ่งที่ใจคิด
ส่วนบาปที่เกิดเพราะจิตคิดหวังในทางชั่ว
ก็ทำหน้าที่ของตัวไป คือไปเปิดช่องให้เราได้ทำชั่วในอนาคต
เป็นคนละส่วนกันมันแยกกันขนาดนั้นเลยครับ
ดังนั้นทำบุญหวังผล จะได้บุญหรือ...?
มันได้มาตั้งแต่แรกแล้วครับ ส่วนหวังไปทางไหนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง


อธิษฐานบารมีเป็นเหมือนแผนผังของชีวิตครับ
สร้างบ้านต้องมีแปลนฉันใด
ชีวิตที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดกว่าจะหมดกิเลสได้
ต้องมีแผนผังชีวิตครับ


การอธิษฐานจึงเป็นการกำหนดจิตของเรา
ให้มุ่งหน้าไปทางที่ต้องการ โดยอาศัยบุญนี่แหละ
เป็นตัวแหวกทางไปให้ถึง



เหมือนเดินลุยป่า ก็มีมีดหวดต้นไม้ กิ่งไม้ ขวากหนาม ตามทางไป
ชีวิตเราเหมือนกัน กว่าจะไปถึงวันหมดกิเลส
เจออุปสรรคอีกเยอะ บุญนี่ละครับจะเป็นเหมือนมีด
คอยแก้ไขให้ ถ้าไม่อธิษฐานก็มั่วครับ
คนโบราณถึงสอนว่าจะอธิษฐานอะไร (ในทางดีนะครับ)
ก็อธิษฐานไปเถอะ! แต่อย่าลืมให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานด้วย

เหมือนเราทำงาน ได้เงินเดือนมา
ถ้าไม่กำหนดว่าจะใช้เงินไปทางไหน
เดี๋ยวมันก็ใช้สะเปะสะปะ หมดไปกับอะไรบ้างก็งงๆ
จำไม่ค่อยได้ แต่ถ้ามีแผน เช่น อยากได้บ้านสักหลัง

คราวนี้ครับ เงินเดือนที่ได้มา มันจะถูกเก็บเอาไว้
เพื่อซื้อบ้านเป็นสำคัญ


ทุกครั้งที่ได้เงินเดือนใจก็จะคิดถึงบ้าน และจะเกิดผังในใจ
มุ่งไปที่บ้านยิ่งนานวันใจที่อยากได้บ้านจะยิ่งมีกำลัง
เห็นอะไรอยากซื้อระหว่างนั้นก็จะตัดใจ
ยอมอดเปรี้ยวไว้กินหวาน (ถ้าไม่อธิษฐานไว้
ระหว่างทางอาจถูกอะไรมาล่อใจเป๋ได้เหมือนกัน
...เช่น ได้รถยนต์ ไม่ได้บ้านเป็นต้น)


จากนั้นเก็บเงินสะสมไปเรื่อยๆ เดือนเป็นปี
จากปีเป็นหลายปี จนมีเงินพอก็จะได้บ้านมาสมใจ

อธิษฐานมันดีอย่างนี้ ชีวิตขาดมันไม่ได้นะครับ
ขอโทษที ผมเขียนยาวอีกแล้วครับทนอ่านหน่อยละกันนะครับ


Cr.Neocitran

ยังมีความสงสัยที่น่าสนใจ และเชื่อว่าน่าจะ
เป็นความเข้าใจผิดของคนจำนวนไม่น้อยว่า

วัดธรรมกายสอนเรื่องเรี่ยไรอย่างไร?

หากบังคับคนมาทำบุญแล้วคนชวนได้บาปจริงไหม?

ติดตามตอนต่อไปในบล็อคหน้านะคะ

ติดตามกระทู้ของ Neocitran–Pantip
Link :
http://pantip.com/profile/2932812

วัดธรรมกายสอนชัด! ทำบุญมากๆ ก็รวยมากๆ


หลังจากไปส่องกระทู้  ในห้องศาสนาของ Pantip
รู้สึกเหมือนนั่งอยู่ท่ามกลางสมรภูมิที่
รบพุ่งกัน ด้วยอาวุธทางความคิด
ที่มีทั้งอคติ และเหตุผล ไฝว้กันละมุนอยู่ในที่นั้น
กิ่งแง่งความคิดอาจดูแตกต่าง
แต่แก่นแท้ในใจนั้น ก็ยังเป็นชาวพุทธ
ที่นับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน

จากการไปส่องในครั้งนี้ เลยมีของแถมหรูๆ
มาประดับความคิด ด้วยปุจฉา
อันไม่ฉาบทาอคติของสมาชิกท่านหนึ่ง
ที่ถามว่า..

คำถามที่ 1 อยากรวย ต้องทำบุญมากๆ
วัดธรรมกายสอนอย่างนี้จริงไหมคะ ?


จะทำความเข้าใจเรื่องทำบุญของวัด ต้องเข้าใจการสร้าง
บารมีแบบที่วัดสอนก่อนครับ


ตั้งแต่เข้าวัดมา หลวงพ่อจะสอนเรื่อง
“ทำบุญว่าให้ทำตามแบบอย่างที่พระพุทธเจ้าทำ”
หมายถึงทำแบบที่ท่านทำก่อน
จะมาตรัสรู้ (สมัยเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีอยู่)
หลวงพ่อสอนว่า ท่านทำอย่างไรเราทำอย่างนั้น
ท่านก้าวขวาเราก็ขวาตาม ท่านก้าวซ้ายเราก็ซ้ายตาม
เพราะเราก็อยากหมดกิเลสเหมือนท่าน

เหมือนกัน ถ้าไม่ทำแบบท่าน แล้วเมื่อไหร่มันจะหมดกิเลสได้

วัดนี้จึงมักจะเอาเรื่องบารมี 10 มาสอนเยอะ
ส่วนหลักในการทำบุญก็ตามที่พระพุทธเจ้าสอน
ว่าทำอย่างไรได้บุญมาก เราก็ทำตามนั้น
จะเน้นทำกับเนื้อนาบุญคือ พระสงฆ์มากเป็นพิเศษ
เรื่องนี้คุณคงเห็นแล้ว ส่วนการสงเคราะห์โลกเราก็ทำด้วย
เพราะอยู่ร่วมโลกกัน ใครเดือดร้อนก็ต้องช่วยกันไป
และให้เอาพระโพธิสัตว์เป็นแบบ

ถ้าคุณได้ศึกษามาคุณจะรู้ว่าพระโพธิสัตว์จะทำบุญแบบ
ทุ่มเทมาก ไม่เหมือนที่คนไทยคุ้น


ตรงนี้ผมไม่ทราบว่าทำไม พระท่านไม่ค่อยสอนว่าพระ
โพธิสัตว์ทุ่มเทสร้างบารมีมาอย่างไร
ผมเกิดมาก็คุ้นกับคำว่า ทำบุญไปตามศรัทธา
น้อยหรือมากก็ไม่สำคัญ ซึ่งผมรู้สึกว่ามัน
ยถากรรมมากเกินไป



หลวงพ่อจึงสอนว่า “ให้ทำบุญให้เต็มกำลัง”
หมายถึงเต็มที่ของเราได้เท่าไหร่ เอาเท่านั้น
อย่าให้ตัวเองหรือครอบครัวเดือดร้อน
และอย่าให้คนอื่นเดือดร้อน
(เช่นกู้ยืมเขามาทำบุญ – ยกเว้นมีเงินพร้อมใช้คืนอยู่แล้ว)
มีคนบางคนเหมือนกันที่ทำบุญเกินตัวแต่เป็นส่วนน้อยครับ
ส่วนใหญ่คนวัดรู้ว่าทำประมาณไหนดี การทำแบบเต็มกำลัง   
วัดไม่ได้ปล่อยตามยถากรรมครับ วัดก็ฉลาดที่จะสอนด้วย   
(อันนี้ผมสังเกตเองนะ)


อย่างตอนผมเข้าวัดครั้งแรกยังเรียนอยู่ ม.5
ผมทำบุญได้หลักร้อยบาทครับ แต่เมื่อมาวัดนานเข้า
วัดจะสอนและทำให้เราอยากทำตามด้วย
อีก 2 เรื่อง คือถือศีลกับนั่งสมาธิ

2 เรื่องนี้ครับทำแรกๆ ไม่รู้ครับว่ามันจะเกิดอะไร
แต่ยิ่งทำนานไปโดยเฉพาะศีล...หนุ่มๆ นี่ละครับ
บางวันรักษาศีล 8 ด้วยซ้ำ เพราะศีลนี่แหละ
ทำให้ไม่อยากไปเที่ยวเตร่เฮฮา เพราะมันมีพวกเหล้าบุหรี่
อะไรที่เราไม่แตะอยู่แล้วก็หลีกเลี่ยง



ส่วน สมาธิ ทำให้มีความสุขใจ มันไม่ค่อยโหยหาอยากได้
อะไรเกินตัว อยู่บ้านนั่งเงียบ ๆ ก็มีความสุขได้แล้ว
พี่สาวผม ไม่ชอบเสียเงินไปกับเครื่องสำอาง
เพราะแบบนี้เหมือนกัน ตังค์เหลือเยอะเลยครับ
เฉพาะ 2 เรื่องนี้ครับ ผมมาเห็นผลตอนทำงานแล้ว
พบว่าผมมีเงินเก็บต่อเดือนเหลือเยอะมาก
(เมื่อเทียบกับคนอื่น) และผมสามารถคำนวณได้ว่า
ผมจะบริหารเงินอย่างไร ผมมีเงินทำบุญได้มากเลยครับ      
ทำเป็นพันเป็นหมื่นนี่สบาย ถ้าจะทำนะครับ


และเพราะถูกฝึกให้ทำตั้งแต่เด็ก หลักร้อยทำบ่อยๆ
ก็หลักพัน นานไปก็หมื่น เดี๋ยวนี้ก็... 555
ประมาณนี้ละครับ มันไม่เสียดาย แถมเรารู้ด้วยว่า
วัดเอาไปทำประโยชน์อะไร เรายิ่งดีใจก็ทำสนุกเลย
(กว่าจะมาทำเยอะขนาดนี้ ผมฝึกนานครับจนคุ้น
กับการทำเยอะโดยไม่เสียดาย)
ทีนี้ทำบุญ (หมายถึงให้ทาน) พระพุทธเจ้าตรัสว่า
จะทำให้เกิดโภคทรัพย์สมบัติ แปลภาษาง่ายๆ
ว่า “รวย” นั่นแหละครับ

เวลามีคนถามว่า ทำไมต้องรวย ด้วย หลวงพ่อจะขำๆ
แล้วตอบว่า ก็ไปลองจนดูสิ



ทีนี้ทำมากจะรวยจริงไหม ตรงนี้จริงครับ
แต่ก็มีเงื่อนไขด้วย ไม่ได้จริงทุกกรณีไป
 (แต่คนวัดก็เฮฮาไปเวลาพูดว่ารวย
เพราะเขาก็รู้ว่าบุญมันไม่ได้ส่งผลกันทันใจขนาดนั้น
ชาตินี้ไม่รวย ชาติหน้าก็ได้ ไม่รีบ 555)

เอาตามพระพุทธเจ้าสอนนะครับ คือถ้า
1. เงินเราหามาด้วยสัมมาอาชีวะ
2. เจตนาทำเราบริสุทธิ์ หวังเอาบุญ
3. ทำกับเนื้อนาบุญ คือพระสงฆ์ที่ท่านเป็นพระที่ดี
อย่างนี้บุญมากครับ

ขาดตัวใดตัวหนึ่งไปก็ลดหย่อนลงมา
(ที่ทำมากอาจไม่ได้บุญมาก ก็เพราะขาดตัวใดหรือหลายตัว)
เช่น คนทำบุญมากแต่ทำกับคนไม่มีศีล
บุญได้ไม่มากนัก บางทีสู้ทำน้อยกว่า
แต่ทำกับสงฆ์ไม่ได้ภาพทำบุญกับพระ

 ถ้าคน 2 คนทำบุญในเงื่อนไข 3 ข้อข้างบน
เหมือนกันเป๊ะ! คนทำมากกว่าย่อมเกิดบุญมากกว่า
เพราะทรัพย์ที่มากกว่า ทำให้เกิดประโยชน์มากกว่าครับ
 คิดง่าย ๆ ซื้อก๋วยเตี๋ยวร้านเดียวกัน 30 บาท        
กับ 50 บาท ย่อมได้ไม่เท่ากัน

"ทำบุญมากก็เกิดประโยชน์กับพระศาสนามาก"



เช่น มีพระ 5 องค์ คนหนึ่งตักบาตรให้ 2 องค์
อีกคนตักให้ 5 องค์ พระ 5 องค์ ท่านอิ่มแล้วไปปฏิบัติธรรม
ไปสอนชาวบ้านต่อ เราได้บุญมากกว่าพระ 2 องค์อยู่แล้วครับ

เมื่อกำลังบุญมาก เมื่อเกิดภพชาติใด ย่อมได้โภคทรัพย์มาก
มันก็เป็นเหตุเป็นผลกันตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอนครับ แต่
อย่าลืม “ทำให้เต็มกำลัง”

 แต่อย่าให้เดือดร้อนตัวเองและคนอื่น
ตอบแค่นี้ก่อนนะครับ ชักจะยาว ข้ออื่นเดี๋ยวค่อยมาตอบใหม่..

Cr.Neocitran

ยังเหลือคำถามที่น่าสนใจแล้วก็น่าจะเป็นความ
สงสัยของคนที่ไม่เข้าใจอีกมากมายอย่าง
เช่น ทำบุญแล้วอธิษฐานเป็นการหว่านพืชหวังผลหรือเปล่า?
แล้วจะได้บุญตรงไหน?
ติดตามกันในบล็อคหน้านะคะ

ติดตามกระทู้ของ Neocitran–Pantip Link :
http://pantip.com/profile/2932812
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

โพสต์แนะนำ

กรณีธรรมกาย พลังมวลแห่งศรัทธา คุณค่าของความเชื่อ

. . เมื่อคน หรือพระทะเลาะกัน จะเป็นผู้แพ้ หรือผู้ชนะ ย่อมมีความอ่อนแอ ซุกซ่อนอยู่เสมอ แล้วแพ้หรือชนะจะมีค่าอะไร . .  . . กรณีธรรมกา...

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

รายการบล็อกของฉัน

Blogger templates

Video Of Day

About us

About

Posts

บทความที่ได้รับความนิยม

© Copyright วัดพระธรรมกาย UNSEEN !
Back To Top